ทำความเข้าใจสินเชื่อส่วนบุคคลคืออะไร?
สินเชื่อบุคคลคือ เมื่อคุณต้องการเงินสดไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ใด คุณสามารถขอกู้ สินเชื่อส่วนบุคคล กับธนาคารได้ ซึ่งวงเงินสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่คุณจะได้นั้นธนาคารเป็นผู้กำหนด โดยพิจารณาจากรายได้ต่อเดือน ณ ปัจจุบัน และประวัติการชำระหนี้ที่คุณมีอยู่
สินเชื่อในประเทศไทยจะเป็นสินเชื่อแบบไม่ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน นั่นหมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันใด ๆ ในการกู้เงิน การกู้สินเชื่อจำเป็นต้องดูองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ก่อนที่จะตัดสินใจกู้ อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่คุณอาจจะต้องจ่าย อัตราดอกเบี้ย รวมไปถึงยอดที่ต้องชำระต่อเดือน
วัตถุประสงค์ที่คนไทยส่วนใหญ่ขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคล เช่น เพื่อชำระค่ารักษาพยาบาล, เพื่อการลงทุนหรือขยายธุรกิจ, เพื่อการศึกษา, เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์/ต่อเติมที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการรวมหนี้ไว้ในที่เดียวเพื่ออัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า
ประเภทของสินเชื่อ
ปัจจุบันมีสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อที่มีหลักประกัน หมายถึง สินเชื่อที่ต้องนำสินทรัพย์ เช่น บ้าน หรือรถยนต์ที่มีมูลค่าเท่ากับหรือมากกว่าสินเชื่อที่ขอมาเป็นสิ่งค้ำประกัน และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน หมายถึง สินเชื่อที่ไม่จำเป็นต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน เพียงแค่แสดงหลักฐานรายได้ตอนสมัครขอสินเชื่อ คุณก็สามารถได้รับสินเชื่อที่ต้องการได้
คุณสมบัติของผู้ขอสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น มีดังต่อไปนี้
- มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปีบริบูรณ์
- มีรายได้ขั้นต่ำ 7,500 บาท (แล้วแต่สถาบันการเงินกำหนด) และมีรายได้ผ่านบัญชีธนาคาร
- ต้องเป็นคนไทย หรือถือสัญชาติไทยเท่านั้น
- หากเป็นชาวต่างชาติจำเป็นต้องมี work permit ในการทำงานและพำนักในประเทศไทย
- กรณีที่เป็นเจ้าของกิจการ จะต้องมีรายได้ขั้นต่ำตามที่สถาบันการเงินผู้ให้กู้กำหนดเอาไว้
เอกสารที่ใช้ในการสมัครสินเชื่อ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา/พนักงานบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3-6 เดือน
- สำเนาหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
กรณีเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน ในกรณีที่ใช้บัตรประจำตัวอื่น ๆ ที่ราชการออกให้ แทนบัตรประจำตัวประชาชนในการสมัคร เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ ใบอนุญาตขับรถยนต์ เป็นต้น
- สำเนาหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3-6 เดือน
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
กรณีเป็นชาวต่างชาติที่พำนักและทำงานในประเทศไทย
- สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
- สำเนาใบอนุญาตในการทำงานในประเทศไทย (2 years or above work permit) ตั้งแต่ 2 ปีเป็นต้นไป
- สำเนาหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน (Payment slip)
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3-6 เดือน (latest 3-6 months bank statement)
กรณีเป็นเจ้าของกิจการหรืออาชีพอิสระ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือทะเบียนการค้า (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
การคิดดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อส่วนบุคคล
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจะอยู่ในลักษณะการคำนวณแบบร้อยละต่อปี ซึ่งธนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน จะจัดแจงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เอาไว้หลากหลายประเภท หลายอัตรา โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับประเภทของเงินกู้หรือสินเชื่อ
ตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี หมายถึงหากนายดำปล่อยเงินกู้ให้นายแดง 100 บาท โดยตกลงว่าจะต้องจ่ายคืนในระยะเวลา 1 ปี นายดำก็จะได้เงินจากนายแดงไปใช้ แต่ภายในเวลา 1 ปี นายแดงจะต้องหาเงินมาคืนนายดำ 100 บาท พร้อมดอกเบี้ยเงินกู้อีก 10 บาท เป็น 110 บาท เป็นต้น
Read more >>> ทำความรู้จัก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เขาคิดกันอย่างไร
ก่อนสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ต้องทำอะไรบ้าง?
การเตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อ หากมีความจำเป็นต้องขอสินเชื่อ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราต้องพิจารณาคือความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง ดังนั้นการเลือกประเภทของสินเชื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและกำลังในการหารายได้เพื่อชำระหนี้ในอนาคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจในกระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อให้ละเอียด ถี่ถ้วนและรอบคอบ เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวให้พร้อมและสินเชื่อจะได้รับการอนุมัติตามที่ต้องการ
Read more >>> ก่อนกู้เงินต้องรู้ ขอสินเชื่อต้องเตรียมตัวอย่างไร
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนขอสินเชื่อส่วนบุคคล
เอกสารประจำตัว
เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
เอกสารเกี่ยวกับรายได้ ได้แก่
- ผู้มีรายได้ประจำ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
- ผู้มีอาชีพอิสระ กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วยบัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร
- นิติบุคคล ได้แก่ สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
Read more >>> ก่อนกู้เงินต้องรู้ ขอสินเชื่อต้องเตรียมตัวอย่างไร
หลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาสินเชื่อส่วนบุคคล
โดยทั่วไปสถาบันการเงินต่างๆ จะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อที่ไม่ต่างกันนัก เรียกว่าหลักการ 5C ประกอบด้วย
- Character คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ
- Capacity ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
- Capital เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝาก เพื่อเป็นหลักประกัน
- Collateral ผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาจำนำ หรือจำนอง
- Conditions ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ
Read more >>> 3 เกณฑ์พิจารณาการ ขอสินเชื่อธนาคาร แบบไหนมีผลกระทบหากผู้กู้มีหนี้บัตรเครดิต
อัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้สินเชื่อส่วนบุคคลควรรู้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี เป็นเวลา 4 ปี คุณก็จะเสียอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเดิมเท่ากันตลอดทั้ง 4 ปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นครั้งๆ ไป โดยมักจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามเศรษฐกิจ โดยธนาคารจะประกาศอยู่เรื่อยๆ ในเว็บไซต์ของธนาคาร
อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) คือ วิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบหนึ่งของการขอสินเชื่อ เมื่อคุณชำระเงินต้นคืนไปมากเท่าไหร่จำนวนเงินต้นคงเหลือที่นำมาคำนวณดอกเบี้ยก็จะยิ่งน้อยลง ยิ่งเงินต้นเหลือน้อยเท่าไหร่อัตราดอกเบี้ยก็จะถูกลงตามไปด้วยเท่านั้น โดยดอกเบี้ยจะถูกคิดคำนวณเป็นรายวันจากเงินต้นที่เหลือในแต่ละเดือน ดอกเบี้ยประเภทนี้จะเป็นดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสด
Read more >>> ทำความรู้จัก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เขาคิดกันอย่างไร
สินเชื่อเงินสด คือ สัญญาเงินกู้ ที่เป็นในลักษณะเงินกู้ก้อนใหญ่ก้อนเดียว หลังจากนั้นผู้กู้จะต้องทยอยชำระหนี้เป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กัน ตามระยะเวลา และอัตราดอกเบี้ยที่สัญญากำหนด โดยระยะเวลาในการชำระหนี้สินเชื่อเงินสดนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น
บัตรกดเงินสด จะเป็นบัตรที่ใช้กดเงินสดจากตู้ ATM หากเจ้าของบัตรไม่กดเงินสด ก็ยังไม่เป็นหนี้ (ซึ่งไม่นับค่าธรรมเนียมการถือครองบัตรรายปี) แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ถือบัตรกดเงินสดจากตู้ ATM ผู้กดเงินสดจะถูกคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันแรก
บัตรกดเงินสด จะเป็นบัตรที่ใช้กดเงินสดจากตู้ ATM หากเจ้าของบัตรไม่กดเงินสด ก็ยังไม่เป็นหนี้ (ซึ่งไม่นับค่าธรรมเนียมการถือครองบัตรรายปี) แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ถือบัตรกดเงินสดจากตู้ ATM ผู้กดเงินสดจะถูกคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันแรก
จากที่สมัยก่อนต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อชำระหนี้เท่านั้น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ได้หลากหลายช่องทางได้มากขึ้น ดังต่อไปนี้
โดยนอกเหนือจากช่องทางที่ธนาคารผู้ออกสินเชื่อมีให้บริการแล้ว ยังมีช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารผู้ออกบัตรอีก ดังนี้
- เดินทางไปชำระด้วยตนเองที่สาขาของธนาคารผู้ออกสินเชื่อ
- ชำระโดยการหักผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติของธนาคารผู้ออกสินเชื่อ
- เครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกสินเชื่อ
- อินเทอร์เน็ตแบงก์กิง
- แอพพลิเคชันของธนาคารผู้ออกสินเชื่อ
โดยนอกเหนือจากช่องทางที่ธนาคารผู้ออกสินเชื่อมีให้บริการแล้ว ยังมีช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารผู้ออกบัตรอีก ดังนี้
- เคาน์เตอร์ธนาคารอื่น ๆ ที่ระบุเอาไว้ว่าสามารถชำระได้
- เคาน์เตอร์ชำระเงินจากองค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-eleven เคาน์เตอร์เทสโกโลตัส เป็นต้น (อาจจะมีค่าธรรมเนียมในการให้บริการรับชำระเงิน)
- แอพพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ ที่มีให้บริการชำระค่างวดสินเชื่อต่างธนาคาร
- แอพพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิตอล เช่น ทรู มันนี่ วอลเลต เป็นต้น
คุณสามารถชำระสินเชื่อต่องวดมากกว่าขั้นต่ำตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญาได้ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยให้คุณสามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย เนื่องจากเงินส่วนต่างที่คุณชำระเกินไปทุกเดือนนั้นจะถูกนำไปหักจากเงินต้น และด้วยเงินต้นที่ลดลงส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในงวดถัด ๆ ไปลดน้อยลงตามไปด้วย เพราะเงินต้นที่ถูกนำมาคำนวณดอกเบี้ยนั้นลดลงไปนั่นเอง
หากคุณเป็นผู้ที่มีรายได้แบบไม่ผ่านบัญชีธนาคาร จะไม่สามารถขอกู้สินเชื่อได้ เนื่องจากว่าคุณไม่มีหลักฐานในการยืนยันรายได้ ว่ามีรายได้หมุนเวียนทุก ๆ เดือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าคุณมีความน่าเชื่อถือและสามารถชำระหนี้ได้หากได้รับอนุมัติสินเชื่อนั่นเอง
วงเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้ขอกู้สินเชื่อ ณ ปัจจุบัน และการพิจารณาของผู้ให้กู้สินเชื่อ โดยทั่วไปจะสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ต่อเดือนของผู้ขอกู้สินเชื่อ แต่เพดานสูงสุดจะไม่เกิน 1,000,000 บาท, 1,500,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท แล้วแต่สถาบันการเงินจะกำหนด โดยยึดตามการชำระหนี้ในอดีตของผู้ขอกู้ที่จะถูกบันทึกเอาไว้ในเครดิตบูโร หากคุณเป็นลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงตามนัดชำระมาโดยตลอด ไม่เคยขาดไม่เคยล่าช้าแม้แต่งวดเดียว รวมไปถึงภาระหนี้ต่อเดือนในปัจจุบันของคุณยังไม่เกินกว่า 60% ของรายได้ ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะได้สินเชื่อในวงเงินสูงสุดตามที่คุณขอกู้ไว้
MLR ย่อมาจากคำว่า Minimum Loan Rate ความหมายคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา
MOR ย่อมาจากคำว่า Minimum Overdraft Rate ความหมายคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
MRR ย่อมาจากคำว่า Minimum Retail Rate ความหมายคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
MOR ย่อมาจากคำว่า Minimum Overdraft Rate ความหมายคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
MRR ย่อมาจากคำว่า Minimum Retail Rate ความหมายคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
วิธีคิด MLR MOR MRR มีตัวอย่างดังนี้
ธนาคาร A ปล่อยกู้เงินซื้อคอนโดที่วงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25% (MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5% (MLR + 1%) เป็นต้น
โดยปกตินั้นอัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวที่จะบ่งบอกถึงระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย เป็นต้น
ธนาคาร A ปล่อยกู้เงินซื้อคอนโดที่วงเงิน 5,000,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย MLR – 1% ในช่วงแรกและ MLR + 1% ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารกำหนดในแต่ละปี ถ้าปีแรก MLR = 6.25% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 5.25% (MLR – 1%) ถ้าปีที่สาม MLR = 7.5% ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 8.5% (MLR + 1%) เป็นต้น
โดยปกตินั้นอัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวที่จะบ่งบอกถึงระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย เป็นต้น
เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 โดยมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลการชำระเงินสินเชื่อหรือรายงานข้อมูลเครดิต (Credit Report) ของบุคคลและนิติบุคคลจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล บริษัทบัตรเครดิต บริษัทผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทลิสซิ่งเช่าซื้อ ซึ่งสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องนำส่งข้อมูลของลูกค้าให้แก่เครดิตบูโร รายงานข้อมูลเครดิตประกอบด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าของข้อมูล เช่น ประวัติการขอสินเชื่อ การได้รับอนุมัติ การชำระสินเชื่อ การชำระสินค้าและบริการบัตรเครดิต เป็นต้น โดยเครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลเครดิตไว้ 36 เดือนสำหรับบุคคลธรรมดา และ 60 เดือนสำหรับนิติบุคคล ซึ่งข้อมูลการชำระสินเชื่อจากสถาบันการเงินจะถูกส่งเข้าไปในระบบของเครดิตบูโรทุกเดือน ข้อมูลเก่าจึงถูกแทนที่ด้วยข้อมูลใหม่ทุกเดือน โดยทั่วไปสถาบันการเงินจะใช้รายงานข้อมูลเครดิตเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อประเมินความสามารถในการชำระหนี้และการมีวินัยในการชำระหนี้ของเจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่ต้องการกู้เงินทั้งนี้ สถาบันการเงินจะต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนจึงจะมีสิทธิขอข้อมูลจากเครติตบูโรได้
เพราะ MoneyGuru เป็นเว็บไซต์โบรกเกอร์ที่คุณสามารถเข้ามาเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพข้าราชการ พนักงานเอกชน อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ หรือแม้กระทั่งเจ้าของกิจการ ก็สามารถสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลกับเราได้ อีกทั้งเรายังมีโปรแกรมคำนวณเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับอาชีพ อายุงาน รายได้ต่อเดือน วงเงินที่ต้องการกู้ยืม และระยะเวลากู้สินเชื่อ เพื่อที่คุณจะได้สินเชื่อส่วนบุคคลที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณให้มากที่สุด นอกจากบริการเปรียบเทียบแล้วคุณยังสามารสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์กับเราได้เลย สมัครง่าย ไม่กี่วันก็อนุมัติ
- เลือกอาชีพของคุณ
- เลือกอายุงาน (น้อยกว่า 6 เดือน - 1 ปีขึ้นไป)
- รายได้ต่อเดือน
- วงเงินกู้ยืมที่ต้องการ
- ระยะเวลากู้สินเชื่อส่วนบุคคล
- เลือกสินเชื่อส่วนบุคคลที่คุณต้องการ
- สมัครสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ผ่าน MoneyGuru
เพราะสินเชื่อส่วนบุคคลทุกวันนี้มีให้เลือกจากหลายธนาคารชั้นนำของประเทศไทย ทั้งนี้โปรแกรมการเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลกับ MoneyGuru จะช่วยให้คุณเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลที่ตรงใจคุณมากที่สุด และตอบโจทย์มากที่สุด โดยเราจะทำการคัดกรองจากอาชีพของคุณ อายุงาน รายได้ต่อเดือน วงเงินที่ต้องการกู้ ระยะเวลากู้สินเชื่อส่วนบุคคล และทางเราจะลิสต์สินเชื่อส่วนบุคคลที่เหมาะกับคุณได้มากที่สุด
ข้อดีของการทำสินเชื่อส่วนบุคคลคือช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ตามความต้องการของลูกค้าที่ต้องการใช้เงินก้อน หรือต้องการใช้เงินเร่งด่วนแต่ต้องใช้เงินกับสิ่งที่จำเป็นมากกว่า ทั้งนี้คุณสามารถนำเงินจากสินเชื่อส่วนบุคคลไปใช้ได้หลากหลายดังนี้
- ลงทุนทำธุรกิจ หรือต้องนำเงินไปขยายกิจการ
- ใช้เพื่อเป็นสินเชื่อรวมหนี้ ให้ง่ายต่อการวางแผนการเงิน
- สำหรับซ่อมแซมบ้าน
- ใช้เพื่อเป็นทุนการศึกษา ค่าเทอมลูก
- ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น คนในครอบครัวเข้าโรงพยาบาล เกิดอุบัติเหตุ
- เพื่อใช้สำหรับโอกาสงานต่างๆ เช่น งานแต่ง งานมงคล ต่างๆ
- เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน
วิธีการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลให้ผ่านไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลกับทาง MoneyGuru เรียกได้ว่าผ่านฉลุย ไม่สะดุดแน่นอน โดยสิ่งที่จะช่วยให้การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านง่ายมีดังนี้
- เตรียมเอกสารให้พร้อม
- เช็คหนี้ของเราให้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน
- เช็คประวัติการเงินของตัวเองให้ดีก่อนกู้เงิน เครดิตการเงินดี สินเชื่อยิ่งอนุมัติง่าย
- แนะนำให้ไม่ควรขอสินเชื่อถี่เกินไป
ในการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นการสมัครธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งการที่จะสมัครให้อนุมัติง่าย ส่วนใหญ่แล้วทางธนาคารจะทำการเช็คเครดิตทางการเงินของผู้สมัครก่อน ซึ่งทาง MoneyGuru เองก็ต้องเช็คเครดิตทางการเงินของผู้สมัครเช่นกัน นอกจากยังนี้ยังมีพิจารณารายได้ต่อเดือนของผู้สมัครเป็นหลัก รวมถึงประวัติการชำระหนี้ว่าใช้เวลาในการชำระหนี้เร็วหรือนานแค่ไหน
ดังนั้นหากเครดิตทางการเงินดี ฐานเงินเดือนตรงตามเงื่อนไขการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ตรงตามกำหนด จะช่วยให้การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลอนุมัติง่ายขึ้น
ดังนั้นหากเครดิตทางการเงินดี ฐานเงินเดือนตรงตามเงื่อนไขการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงประวัติการชำระหนี้ต่างๆ ตรงตามกำหนด จะช่วยให้การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลอนุมัติง่ายขึ้น