ประกันรถยนต์
ประกันรถยนต์
รับใบเสนอราคา
คู่มือ
คำถามที่พบบ่อย
โปรโมชั่น
บัตรเครดิต
บัตรเครดิต
บัตรกดเงินสด
เครดิตเงินคืน
สะสมไมล์
สะสมแต้ม
ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
แสดงทั้งหมด
คู่มือ
คำถามที่พบบ่อย
โปรโมชั่น
สินเชื่อ
สินเชื่อ
สินเชื่อส่วนบุคคล
สินเชื่อทะเบียนรถยนต์และมอเตอร์ไซค์
คู่มือ
คำถามที่พบบ่อย
โปรโมชั่น
บทความ
บทความ
ประกันรถยนต์
บัตรเครดิต
สินเชื่อส่วนบุคคล
ไลฟ์สไตล์
เคล็ดลับการเงิน
สินเชื่อทะเบียนรถยนต์
เกี่ยวกับเรา
เว็บบอร์ด
โทร: 02-653-0020
@MoneyGuruThailand
เวลาทำการ
วันจันทร์ - ศุกร์
เวลา 8.30 - 18:00 น.
วันจันทร์ - ศุกร์
เวลา 8.30 - 18:00 น.
โทร: 02-653-0020
@MoneyGuruThailand
บล็อก
›
เคล็ดลับการเงิน
สแกม (Scam) รู้ทันแก๊งลวงเงินและวิธีป้องกันตนเอง
MoneyGuru
อัพเดทล่าสุด Mar 22, 2022
หากคุณสร้างอีเมลแอดเดรสเป็นของตัวเองมาได้สักพัก คุณอาจเคยได้รับอีเมลจาก “เจ้าชายไนจีเรีย” ที่ขอความช่วยเหลือจากคุณเพราะต้องโอนเงินจำนวนหลายล้านออกนอกประเทศ และสัญญาว่าจะแบ่งเงินส่วนนั้นตอบแทนคุณหลังภารกิจเสร็จสิ้นด้วย ตามด้วยการขอรายละเอียดบัญชีธนาคารของคุณ หลายคนคงจะหัวเราะให้กับอีเมลนี้ เพราะนี่เป็น สแกม ชัดๆ แล้วก็ลบเมลทิ้งหรือทำเครื่องหมายว่าเป็นสแปม แต่เชื่อไหมครับว่า มีคนอีกจำนวนมากเลยล่ะที่โดนสแกมเมอร์พวกนี้หลอกเอาเงินไป
สแกมพวกนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “419 สแกม” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งจากมาตราหนึ่งในกฎหมายอาญาของไนจีเรียที่ห้ามไม่ให้คนทำการทุจริตฉ้อโกง มีสถิติจากศูนย์ร้องเรียนอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตของ FBI ระบุว่า มีการร้องเรียนเรื่อง 419 สแกมถึง 3,735 ครั้ง และนี่เป็นแค่สถิติจากครึ่งปีแรกของปี 2557 เท่านั้น และเหยื่อของสแกมชนิดนี้สูญเงินรวมกันทั้งสิ้น 223 ล้านบาท
419 สแกม เป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างของสแกมหลายๆ ชนิดที่มีอยู่ในโลกของเรา ซึ่งดูออกไม่ยาก และบางครั้งสแกมเหล่านี้ก็โดนตัวกรองสแปมบล็อคให้ แต่ก็ยังมีสแกมแบบอื่นๆ ที่อาจดูออกยากกว่า และนี่ก็คือตัวอย่างของ สแกม ด้านการเงิน ที่อาจอยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คุณคิด และคำแนะนำในการหลีกเลี่ยงสแกมเหล่านี้ครับ
สแกมบัตรเครดิต
จากรายงานประจำปีจากศูนย์ร้องเรียนอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตได้ลงบันทึกเหยื่อ 7,783 รายที่ถูกต้มตุ๋นกับบัตรเครดิต โดยผู้เสียหายเหล่านี้โดนหลอกให้เสียเงินถึง 480 ล้านบาท ซึ่งการต้มตุ๋นกับบัตรเครดิตมีอยู่หลายแบบ ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ การที่มีคนนำข้อมูลบัตรเครดิตของคุณไปใช้เพื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆ โดยที่อาชญากรบางรายใช้ “skimmers” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของคุณไปใช้
ทาง FBI แนะนำว่า ให้คอยตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารอยู่เสมอเพื่อที่จะได้รู้ทันทีว่ามีการใช้จ่ายเงินที่คุณไม่ได้เป็นคนใช้จริงเกิดขึ้นหรือเปล่า และเพื่อนที่จะได้แจ้งบริษัทบัตรเครดิตได้เลยทันทีเมื่อเจออะไรผิดปกติ นอกจากนี้ คุณควรรักษาข้อมูลบัตรเครดิตให้ดีๆ และถ้ามีใครก็ไม่รู้มาขอข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล ห้ามให้เด็ดขาด
สแกมอสังหาริมทรัพย์
โดยปกติแล้ว การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นการลงทุนที่ดีและมีผู้ที่อยากเป็นนักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจกับการลงทุนชนิดนี้ และนี่แหละที่ทำให้สแกมเมอร์เหล่านี้สนใจจะได้ส่วนแบ่งด้วย จากรายงานประจำปีของศูนย์ร้องเรียนอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต ในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 มีเหยื่อจากอาชญากรรมอสังหาริมทรัพย์ถึง 5,262 ราย และพวกเขาเหล่านี้เสียเงินไปเกือบ 965 ล้านบาท
มีการสแกมอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ใช้งานสัมนามาเป็นเครื่องมือโดยพุ่งเป้าหมายไปที่คนที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่สนใจไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าร่วมการสัมนาเหล่านี้ แต่จะถูกหลอกล่อให้จ่ายเงินค่างานสัมนาครั้งต่อๆ ไป หรือผู้พูดอาจใช้งานสัมนาเหล่านี้ล่อลวงให้ผู้เข้าฟังร่วมลงทุนกับโครงการที่ดูมีลับลมคมใน
ส่วนสแกมอสังหาริมทรัพย์อีกประเภท เป็นการให้บริการแนะนำวิธีช่วยปลดหนี้บ้านด้วยความช่วยเหลือจากโครงการของรัฐบาลซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอยู่จริง และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองเป็นเหยื่อของสแกมเหล่านี้ ให้คิดพิจารณาให้ดีๆ ก่อนจะจ่ายเงินให้กับอะไรที่แพงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกการลงทุนที่มีคนพยายามยัดเยียดมา
ไม่จ่ายเงิน/ไม่ส่งของ
รายงานประจำปีของศูนย์ร้องเรียนอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต ปี 2557 มีการลงบันทึกเหยื่อ 31,760 รายจากการสแกมประเภทนี้ โดยผู้เสียหายเหล่านี้ได้สูญเงินรวมกันแล้วถึง 1,955 ล้านบาท การสแกมอย่างนี้คือการที่ผู้ขายไม่จัดส่งสินค้าที่ตกลงกันไว้ หรือการที่ผู้ซื้อไม่จ่ายเงินให้กับของที่ซื้อมา ซึ่งการเติบโตของการซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วโลกถือเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการก่ออาชญากรรมประเภทนี้นี้เพิ่มขึ้นมาก
การซื้อของจากร้านค้าออนไลน์
ที่มีความน่าเชื่อถือและเปิดมาอย่างยาวนานจะสามารถป้องกันไม่ให้คุณเป็นเหยื่อของสแกมเมอร์ได้ หากคุณจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต คุณสามารถเจรจากับบริษัทบัตรเครดิตหรือธนาคารได้หากคุณอยากยกเลิกการซื้อสินค้าเมื่อรู้สึกว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล
โรม๊านซ์ สแกม (Romance Scam)
การสแกมประเภทนี้ คือการหลอกลวงด้วยการพูดคุย การแชท หรือการส่งอีเมล เชิงจีบหรือตกหลุมรัก เพื่อให้เหยื่อตายใจและเชื่อใจ บางคนถึงกับคุยกันเป็นปีเลยเพื่อให้แนบเนียนที่สุด พอถึงจุดจุดหนึ่ง สแกมเมอร์จะอ้างว่าต้องใช้เงินและอยากขอยืมเงิน และตบท้ายด้วยการบอกว่า เดี๋ยวจะส่งเงินคืนให้ จะย้ายมาอยู่ด้วยที่ประเทศไทย หรือกระทั่งจะพาไปอยู่ด้วยที่เมืองนอก
ในประเทศไทยเหยื่อส่วนมากจะเป็นผู้หญิง และสแกมเมอร์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่ใช้จุดอ่อนของผู้หญิงไทยหลายคนที่มีความเชื่อว่า การคบและแต่งงานกับชาวต่างชาติจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้ แน่นอนว่ามีหลายคนเลยที่ตกหลุมพรางและต้องเสียเงินจนแทบหมดตัวให้กับอาชญากรเหล่านี้
สุดท้ายนี้ “ความขี้สงสัย” สามารถช่วยให้คุณหลุดพ้นจากสแกมการเงินได้นะครับ จำไว้ว่า ถ้าอะไรที่ฟังดูดีเกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการบอกว่าจะได้รับเงินตอบแทนอย่างงาม โดยไม่พูดถึงความเสี่ยงหรือความทุ่มเทพยายามเลย แสดงว่าไม่ใช่แล้วล่ะ
ติดตามคำแนะนำด้านการเงินและการออมเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของ
MoneyGuru.co.th
เว็บไซต์
เปรียบเทียบประกันรถยนต์
ชั้นนำของประเทศไทย
ที่นี่
ครับ … และนอกจากสาระความรู้แล้ว คุณยังไม่พลาดสิทธิพิเศษ ข้อเสนอดีๆ จาก
ประกันรถยนต์
บัตรเครดิต
และ
สินเชื่อส่วนบุคคล
อีกด้วย
MoneyGuru
June 3, 2015
1812
กลับไปที่บล็อก
บทความที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับการเงิน
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย แบบไหนให้คุ้ม
อัพเดทล่าสุด Mar 08, 2022
เคล็ดลับการเงิน
6 วิธีประหยัดเงินในช่วงเทศกาล !
อัพเดทล่าสุด Mar 15, 2022
สินเชื่อส่วนบุคคล
8 มุมมองผลกระทบจาก 'ค่าเงินบาทแข็ง' ที่คนไทยควรรู้
อัพเดทล่าสุด Feb 01, 2020
เคล็ดลับการเงิน
เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย แบบไหนให้คุ้ม
อัพเดทล่าสุด Mar 08, 2022
เคล็ดลับการเงิน
6 วิธีประหยัดเงินในช่วงเทศกาล !
อัพเดทล่าสุด Mar 15, 2022
สินเชื่อส่วนบุคคล
8 มุมมองผลกระทบจาก 'ค่าเงินบาทแข็ง' ที่คนไทยควรรู้
อัพเดทล่าสุด Feb 01, 2020
สมัครรับจดหมายข่าวจาก MoneyGuru เพื่อรับโปรโมชั่นและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ทางด้านประกันภัยรถยนต์ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ รวมไปถึงเคล็ดลับการเงินที่มีประโยชน์และคัดสรรคุณภาพมาแล้วเพื่อคุณได้ที่นี่!
สำเร็จ
Submit failed, please try again!
Please enter a valid email address
สมัครรับจดหมายข่าว
Please wait...