โดย MoneyGuru.co.th, ในหมวดหมู่ "ประกันรถยนต์"
December 7, 2020
อัพเดทข้อมูลสำหรับท่านที่ต้องการต่อทะเบียนหรือภาษีรถยนต์ประจำปี 2564 เพื่อที่ท่านจะสามารถเตรียมเงินต่อทะเบียนเท่าไรหรือเงินสำหรับเสียภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถตรวจเช็ก วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ปี 2564 ที่ผู้ใช้รถต้องรู้ ได้ผ่านสูตรคำนวณดังต่อไปนี้
หลายๆ คนที่ใช้รถยนต์กันอยู่เป็นประจำย่อมรู้ดีว่าในทุกๆ ปีนั้นเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของรถยนต์ที่สำคัญๆ อยู่ประมาณ 3 ส่วนด้วยกันก็คือ
ซึ่งแต่ละอย่างนั้นถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก และก่อนหน้านี้เราได้เคยพูดถึงเรื่องของ พ.ร.บ. กันไปแล้ววันนี้เราจึงจะมาพูดถึงเรื่อง ภาษีรถยนต์กันว่ามีความจำเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องมีการต่อภาษีรถของเรา และเคยสงสัยกันไหมว่าเราจะคำนวณภาษีส่วนนี้ล่วงหน้าด้วยตัวเองได้ไหม เพื่อที่จะได้เตรียมเงินให้พร้อม เมื่อถึงเวลาจ่ายจะได้ไม่ลำบาก หากอยากรู้ก็ไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหน เพราะวันนี้ MoneyGuru.co.th จะมาแนะนำ วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ให้ได้ทราบกันว่า รถที่เราใช้ๆ กันอยู่นั้นจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่
ก่อนจะพูดถึง วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ เราก็ควรที่จะเรียนรู้ในเรื่องของเอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีไว้ด้วย เพื่อที่เวลาไปทำเรื่องจะได้ไม่มีเอกสารอะไรตกหล่นจนทำให้เราเสียเวลานั่นเอง
เพียงแค่เราเตรียมเอกสารทั้ง 3 อย่างนี้ให้พร้อม ก็สามารถยื่นเรื่องขอต่อภาษีรถยนต์ได้แล้ว ซึ่งในปัจจุบันก็มีการอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้นไปอีกด้วยการเพิ่มช่องทางการต่อภาษีรถยนต์อีกช่องทางหนึ่งนั่นก็คือ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ นั่นเอง ที่ทำให้เราอยู่บ้านก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ แต่เรื่องในส่วนนี้เราจะขอข้ามไปก่อน เพราะว่าวันนี้นั้นเราจะมาคุยกันเรื่องวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ส่วนเรื่องออนไลน์นี้ขอยกยอดไปคราวหน้านะครับ
อัตราการเสียภาษีรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องเสียภาษีประจำปีละเท่าไร โดยวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ต่างๆ จะมีรายละเอียดดังนี้
1.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้
ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
รถยนต์ ยี่ห้อ BMW รุ่น 330 อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc
รวมค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย = 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท
*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)
2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้
รถที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีเงื่อนไขดังนี้
ประเภทรถ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์
ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถาน
รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ
รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
ดำเนินการตรวจสภาพรถและยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
ชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
ระบบชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ทั้งจากในระบบ และซื้อผ่าน ผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามความจริง และข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ถ้าระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นความจริง มีผลต่อความ คุ้มครองของกรมธรรม์
สำหรับรถจักรยานยนต์ (รย.12) “ยกเลิก” การให้บริการซื้อกรมธรรม์ ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ผ่านระบบตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป โดยผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์จากผู้ให้บริการภายนอกและนำข้อมูลมากรอกในระบบให้ถูกต้อง เพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีรถประจำปีต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร.1584 หมายเหตุ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบก ขอแจ้งปรับปรุง เงื่อนไขการให้บริการยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ,รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) สามารถซื้อกรมธรรม์ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้ทั้งจากในระบบ หรือซื้อผ่าน ผู้ให้บริการภายนอกได้ตามปกติ เพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีรถประจำปีต่อไป สอบถามเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584 บริษัทเทเวศประกันภัยฯ ในเวลาทำการ 08.30 – 17.00 น โทร 02-670-4444 ต่อ 8571 – 8576 นอกเวลาทำการ โทร 02-670-4444 ต่อ 1291 บริษัทวิริยะประกันภัย ในเวลาทำการ 8.30-17.00 น. โทร 02-273-8240-50 ต่อ 222 ,223 ,261 ,262 คุณวรรณา คุณอรวรรณ
สุดท้ายนี้ก่อนจากกันพิเศษรับเดือนธันวาคม 63 MoneyGuru พร้อมช่วยคุณประหยัดจัดโปร Shocking Sale 12.12 ลดร้อนแรงเพียงแค่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 พร้อมรับส่วนลดเบี้ยประกันทันที 12% เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับช่วยเหลือประชาชนสำหรับการจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ ในราคาพิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในเวลานี้…!! เนื่องจากในทุกวันนี้ การใช้รถใช้ถนนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากผู้ใช้รถทุกคนต้องไม่ประมาทและควรระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การทำประกันภัยรถนั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ท่านเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น
ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand