ช่วงภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองแบบนี้ คนมีรถที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ เพราะการเป็นเจ้าของรถ ไม่ว่าจะผ่อนหมดแล้ว หรือยังไม่หมด ก็สามารถใช้รถกู้ขอ สินเชื่อรถแลกเงิน นำเงินก้อนมาหมุนเวียนใช้ก่อนได้
สินเชื่อรถแลกเงิน ดีอย่างไร
สินเชื่อรถแลกเงิน คือการกู้เงินโดยใช้รถยนต์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันว่าเราจะไม่หนีหนี้ ฉะนั้น หากคุณมีรถยนต์เป็นของตัวเอง จะผ่อนชำระค่าใช้จ่ายเสร็จทั้งหมดแล้ว หรือยังไม่หมดก็ตามที ก็สามารถใช้รถยนต์คันนั้น เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เพียงแต่วงเงินของรถแต่ละคันที่จะขอกู้ได้ จะแตกต่างกันออกไป ตามสภาพอายุการใช้งาน และเหตุปัจจัยอื่นๆ
อย่างไรก็ดี การขอกู้สินเชื่อไม่ว่าประเภทใดๆ ก็ตาม ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ฉะนั้น ผู้ขอกู้หรือขอสินเชื่อทุกคนจึงควรหาข้อมูลและศึกษาถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการชำระคืนเงินให้ดี เพราะการรู้ทั้งข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อรถแลกเงิน จะช่วยให้เราตัดสินใจในการขอกู้ได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยให้เราไม่เสี่ยงเป็นหนี้เพิ่มโดยไม่รู้ตัว
ข้อดีของสินเชื่อรถแลกเงิน
- ได้เงินก้อนใหญ่มาใช้ยามฉุกเฉิน โดยเงินก้อนนี้จะได้มาจากมูลค่าของรถยนต์ที่เรานำมาแลก ยิ่งเป็นรถที่ตลาดต้องการ มีสภาพดี ผ่อนชำระงวดรถหมดแล้ว วงเงินที่จะขอกู้ได้ ก็จะได้ตามมูลค่าที่ประเมินไว้
- ผู้กู้สินเชื่อฯ ยังสามารถใช้รถได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้ที่ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อฯ
- ยื่นสมัครออนไลน์ได้ตลอดเวลา กับธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อฯ โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ก่อนได้
- สามารถเลือกระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินคืนได้ โดยส่วนใหญ่จะให้ระยะเวลานานสูงสุดที่ 60 เดือน
- หากมีเงินก้อนแล้วก็สามารถโปะปิดหนี้ได้ เพียงยื่นความประสงค์ในการชำระหนี้ทั้งหมด และนำเงินก้อนไปโปะปิดวงเงินการกู้สินเชื่อของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องผ่อนไปจนครบกำหนดเวลาที่ยื่นขอไว้แต่แรก
ปัจจุบัน ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อฯ หลายแห่ง ต่างก็งัดเอากลยุทธ์การอำนวยความสะดวก และผลประโยชน์ที่เอื้อได้จริงแก่ลูกค้าขึ้นมาประชาสัมพันธ์แข่งขันกัน ฉะนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีแพลนในการใช้เงินก้อน ก็อย่าลืมเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละที่ เพื่อเลือกผู้ให้บริการที่เล็งเห็นประโยชน์และใส่ใจต่อความคุ้มค่าแก่ผู้กู้ขอสินเชื่อมากที่สุด
ข้อเสียของสินเชื่อรถแลกเงิน
- ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนเพิ่มมากขึ้น เพราะการกู้ขอสินเชื่อรถแลกเงิน มีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง จนอาจทำให้เป็นหนี้นานขึ้น ผู้กู้จะต้องวางแผนการเงินในแต่ละเดือนให้ดี
- เงื่อนไขของธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อฯ แต่ละแห่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ผู้กู้จำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลแต่ละแห่งให้ละเอียด เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้กู้เอง
- ไม่ใช่รถทุกคันจะสามารถยื่นขอสินเชื่อรถแลกเงินได้ เพราะการขอสินเชื่อฯ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แต่ละธนาคาร สถาบันการเงิน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินเชื่อฯ เป็นผู้กำหนด เช่น รถจะต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นรถจดทะเบียนส่วนบุคคล ไม่มีการดัดแปลง เปลี่ยนเครื่อง หรือเป็นรถยนต์นำเข้า
หากพิจารณาตามข้อดีข้อเสียของสินเชื่อรถแลกเงินได้อย่างครบถ้วนดีแล้ว และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก้อนจำนวนหนึ่งจริงๆ ประเมินแน่แล้วว่า ตนเองจะมีความสามารถในการชำระคืน โดยไม่เดือดร้อน ก็อย่าได้รอช้า ติดต่อกับสถาบันที่คุณพอใจกับเงื่อนไขในการขอกู้สินเชื่อได้เลย
เพราะ “สินเชื่อรถแลกเงิน” มีขึ้นก็เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับคุณ
สินเชื่อรถแลกเงิน เหมาะกับใคร?
บอกได้เลยว่า เหมาะกับทุกคนที่ต้องการเงินก้อนมาหมุนเวียนใช้จ่ายในการดำรงชีวิต เป็นเงินหมุนเวียนทั้งในครอบครัวและต่อยอดทางธุรกิจ สำหรับ คนทั่วไป สามารถยื่นขอสินเชื่อฯ เพื่อใช้ซ่อมแซมบ้าน โปะหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้นอกระบบ
ส่วนคนที่โตขึ้นมาอีกหน่อยอย่าง มนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศ ที่มักจะได้หนี้มาจากการผ่อนชำระสินค้าที่จ่ายออกไปเกินตัว หลานคนมีบัตรหลายใบ ก็เปิดใบนี้ เพื่อไปโปะใบโน้น กลายเป็นหนี้ดินพอกหางหมูที่แก้ไขได้ยาก จึงทำให้ดอกเบี้ยบานปลาย แต่การนำรถแลกเงินมาขอสินเชื่อฯ เพื่อนำเงินสดไปปิดหนี้บัตรต่างๆ นอกจากจะทำให้หนี้หลายก้อนมารวมตัวกลายเป็นก้อนเดียวแล้ว ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ยังไม่บานปลายอีกด้วย
เกร็ดน่ารู้ สินเชื่อมีกี่ประเภท ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่า สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อบ้าน น่าจะเป็นประเภทของสินเชื่อที่คุ้นหูกันดี แต่จริงๆ แล้ว ประเภทของสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่งประเภทหลักๆ ได้ดังนี้
- สินเชื่อที่แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อ
- สินเชื่อที่แบ่งตามระยะเวลา
- สินเชื่อที่แบ่งตามหลักประกัน
สินเชื่อที่แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อ
สินเชื่อประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกตามการใช้งานของสินเชื่อ โดยที่หลายคนยกให้สินเชื่อประเภทนี้ อยู่ในหมวดเดียวกับการขอสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
- สินเชื่อส่วนบุคคล = สินเชื่อเพื่อการบริโภค เพราะเป็นสินเชื่อที่อนุญาตให้บุคคลผู้ขอสินเชื่อ สามารถนำเงินก้อนไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคนั่นเอง ถามว่าสินเชื่อประเภทนี้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายที่สุดก็คือ บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด
- สินเชื่อประเภทนิติบุคคล = สินเชื่อเพื่อการลงทุน การค้า หรือพาณิชย์ คือสินเชื่อสำหรับการประกอบธุรกิจ หรือดำเนินกิจการ ทั้งใช้เพื่อการลงทุน การผลิต หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณา รวมถึงมีกระบวนการในการขอ และอนุมัติที่ซับซ้อนเล็กน้อย
- สินเชื่อภาครัฐ ปัจจุบัน เราไม่ค่อยเห็นสินเชื่อรูปแบบนี้กันบ่อยแล้ว เพราะภาครัฐหันไปกู้เงินจากธนาคารต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
อ่านบทความเกี่ยวกับสินเชื่อประเภทอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่:
- วิธีสมัครสินเชื่อออมสินสู้ภัยโควิด รอบแรก
- สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร ยื่นขอสินเชื่อยากหรือไม่
- วิธีสมัครสินเชื่อยูโอบี สมัครง่าย ไม่ต้องค้ำ วงเงินสูง
- เอเอสเอ็น ไฟแนนซ์ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ วงเงินสูง
- สินเชื่อบัตรกดเงินสด สำหรับคน 15000 บาท อายุงานเกิน 1 เดือนก็สมัครได้
ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand